แผนที่ทางกายภาพ แผนที่ทั่วไปหรือแผนที่นั่งโต๊ะเป็นแผนที่ ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงที่ตังและลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ทำให้ทราบ เส้นทาง ทิศที่ตั้ง ของพื้นที่หรือสถานที่นั้นๆ เช่น แหล่งน้ำ ภูเขา ทะเล ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่นแหล่งที่ตั้งวัด มัสยิด โบสถ์ ซึ่งผู้ศึกษาอาจไม่จำเป็นต้องไปเดินสำรวจด้วยตนเอง เพียงแต่ขอแผนที่ดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือค้นจากรายงานการศึกษาชุมชนที่มีผู้ทำการศึกษาไว้แล้ว ข้อดีก็คือ สะดวก และประหยัดเวลา แต่ข้อเสียที่ตามมาก็คือ ผู้ศึกษาจะมองไม่เห็นชีวิต เรื่องราว และรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญของชุมชน สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่นั่งโต๊ะจะเป็นเหมือนภาพลวงตา ที่หลอกให้เราเข้าใจผิด และคิดว่ารู้จักชุมชนดีแล้ว จึงทำให้เรามองไม่เห็นมิติทางสังคมของชุมชน
แผนที่เดินดิน เป็นแผนที่ที่เกิดจากการสำรวจลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เรียกว่าแผนที่เดินดินนั้น เพราะการการหาข้อมูลต้องกระทำโดยการลงไปเดินดู ไปสัมผัส ไปเห็นรูปลักษณะบ้านแต่ละหลังทุกหลังทั้งชุมชน ด้วยสายตาของตนเองเท่านั้น ซึ่งต่างจากแผนที่นั่งโต๊ะที่มักคัดลอก หรือหยิบยืมมาจากที่มีอยู่แล้ว การทำแผนที่เดินดินมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเสมอ เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้เราเห็นภาพรวมของชุมชน ได้ดีที่สุด เร็วที่สุด และได้ข้อมูลมากที่สุดในระยะเวลาที่สั้นที่สุดรู้จักชุมชนอย่างทั่วถึง ทำให้การศึกษาชุมชนมีความละเอียด และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ไม่จำกัดอยู่แต่ในส่วนพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่เคยชิน หรือเข้าถึงได้ง่าย สิ่งที่เน้นมากก็คือ เราต้องเข้าไปให้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านคนทุกข์คนยากที่อยู่ชายขอบของหมู่บ้าน หรือบ้านที่แยกตัวโดดเดี่ยวอยู่ตามลำพังท้ายหมู่บ้าน
ในการทำแผนที่เดินดินนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การทำแผนที่ทางกายภาพให้สมบูรณ์ครบถ้วน แต่สำคัญที่การมองเห็นและเข้าใจ ความหมายและหน้าที่ทางสังคม (Social Meaning และ Social Function) ของพื้นที่ทางกายภาพเหล่านั้น การเข้าใจความหมายทางสังคมของลักษณะทางกายภาพนี้ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อไปเดินดู เช่น บ่อน้ำ หากดูในแผนที่นั่งโต๊ะก็จะทราบเพียงแต่ว่าเป็นบ่อน้ำ แต่จะรู้ว่าบ่อน้ำนี้มีคนมาซักผ้ามากหรือน้อยเพียงไร การไปเห็นผู้หญิงหรือแม่บ้านมาซักผ้าที่บ่อน้ำเป็นการเข้าใจหน้าที่ทางสังคมของบ่อน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่มาแลกเปลี่ยนข้อมูลของหมู่บ้าน เพราะฉะนั้นการเดินดูจะช่วยให้เห็นพื้นที่ทางสังคม (Social Space) และเข้าใจหน้าที่ทางสังคม (Social Function) ที่อยู่บนลักษณะทางกายภาพ (Physical Space) ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนมากขึ้น
2 ความคิดเห็น:
เชอะ
บอกให้ดีหน่อยสิยะ
แสดงความคิดเห็น