อีดำอีแดง(Scarlet fevar)
อีดำอีแดง (ไข้อีดำอีแด ก็รียก) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ทำให้มีผื่นแดงขึ้นตามตัวร่วมกับทอนซิลอักเสบ พบบ่อบในเด็กอายุ 5-15ปี ในปัจจุบันพบโรคนี้น้อยลง เนื่องจากผู้ใหญ่มักได้รับยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตรค็อกคัสกลุ่มเอ (group A betahemolytic Streptococcus) สายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ (erythrogenic exotoxin) ออกมาทำให้เกิดผื่นตามผิวหนัง เชื้อมีอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสมือผู้ป่วย สิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ
ระยะฟักตัว
2-7 วันโรคนี้มักเป็นร่วมกับทอนซิลอักเสบ แต่บางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ตำแหน่งอื่น เช่นผิวหนัง แผลผ่าตัด มดลูก เป็นต้น
อาการ
แรกเริ่มจะมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอมาก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย
1-2วันหลังมีไข้จะมีผื่นแดงขึ้นที่คอ หน้าอกและรักแร้ แล้วกระจายไปตามลำตัว และแขนขาภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นมีลักษณะคล้ายกระดาษทราย อาจมีอาการคันต่อมมาผื่นจะปรากฏเด่นชัด (เข้มข้น) ในบริเวณร่องหรือรอยพับของผิวหนัง (โดยเฉพาะที่ คอ รักแร้ ข้อพับแขน ขาหนีบ
ข้อพับขา) แล้วต่อมาในบริเวณนี้จะพบจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งเรียงเป็นเส้น (เนื่องจากการแตกของหลอดเลือดฝอย) เรียกว่า “เส้นพาสเตีย(Pastia’s lines)
ผื่นจะเริ่มจางหายหลังขึ้นได้ 3-4 วัน หลังจากผื่นจางได้ 1 สัปดาห์จะมีอาการลอกของผิวหนัง มักเห็นเด่นชัดที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ซึ่งอาจเห็นลอกเป็นแผ่น ส่วนตามตัวลอกเป็นขุย อาการผิวหนังลอกเป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้ บางรายอาจลอกติดต่อกันนานถึง 6 สัปดาห์
สิ่งตรวจพบ
ไข้มากกว่า 38.3◦ทอนซิลบวมแดง และมักมีแผ่นหรือจุดหนองขาวๆเหลืองๆต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้าหรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ หน้าแดงบริเวณรอบปากซีด
ในช่วง 2 วันแรกของไข้อาจพบลิ้นมีฝ้าขาวปกคลุมและมีตุ่มแดงยื่นขึ้นป็นตุ่มๆสลับคล้ายผลสตรอเบอร์รี่ เรียกว่า ลิ้นสตรอเบอร์รี่ขาว (white strawberry tongue)
ในช่วงหลังวันที่ 4 ของไข้ ฝ้าขาวที่ลิ้นจะลอกเป็นสีแดง ทำให้เห็นเป็นลิ้นสตรอเบอร์รี่สีแดง ( red strawberry tongue)
ตามผิวหนังจะพบผื่นแดงคล้ายกระดาษทรายและ “เส้นพาสเตีย” (ในช่วงประมาณสัปดาห์แรก) และอาการผิวหนังลอก (ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 2 ไปแล้ว)
ภาวะแทรกซ้อน
เช่นเดียวกับทอนซิลอักเสบจากบีตาฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (8) เช่น หูชั้นกลางอักเสบ (163) ไซนัสอักเสบ (26) ปอดอักเสบ ฝีทอนซิล ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66) ไข้รูมาติก (94) หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (136) เป็นต้น
การรักษา
ที่สำคัญ คือ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี(ย4.1) อะม็อกซีซีลลิน(ย4.2) อีริโทรไมซิน
(ย4.4) นาน 10 วัน ร่วมกับให้การรักษาตามอากรอื่นๆ
ในรายที่อาการไม่ชัดเจน อาจต้องส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจกาเชื้อด้วนวิธี rapid strep test การเพาะเชื้อ
ข้อแนะนำ
1.ควรเน้นให้ยาปฏิชีวนะให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด
2.ควรแยกผู้ป่วย จนกว่าจะให้ยาปฏิชีวนะไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น
การป้องกัน
เมื่อมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นอีดำอีแดให้หลีกเลี้ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย และหมั้นล้างมือด้วยน้ำสบู่ ผู้ป่วยควรหลีกเลี้ยงการไอหรือจามรดผู้อื่นอ้างอิง
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551
2 ความคิดเห็น:
ถ้าเป็นอีดำอีแดงก็จะเป็นทอนซิลอักเสบด้วยเหรอ เพิ่งรู้แฮะ
เราก็เคยเป็นทอนซิลอักเสบนะ ตอนนั้นเราใช้ propoliz spray
มันเป็นสเปรย์พ่นอ่ะ ใช้ง่ายดีนะ พกไปไหนมาไหนสะดวกด้วย
แล้วก็แก้เจ็บคอดีมาก ช่วยลดอาการทอนซิลอักเสบได้เยอะเลย
น่าสนใจดีนะโพรพอลิสสเปรย์ ชอบตรงที่บอกว่าพกสะดวกนี่แหละ เดี๋ยวจะลองหามาใช้ดูบ้าง
แสดงความคิดเห็น