ครู้ป (Croup/Laryngotracheobronchitis)
ครู้ป (คอตีบเทียม ก็เรียก) หมายถึงการอักเสบของเยื่อหุ้มบุผิวของทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไปที่ท่อลม และหลอดลม ทำให้มีอาการไอเสียงก้อง และอาจเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และหายได้เอง
พบบ่อยในอายุ 6 เดือนถึง3 เดือน (สูงสุดในช่วงอายุ 1-2 ปี) พบน้อยในเด็กอายุเกิน 6 ปี แต่บางครั้งก็พบในเด็กโต (จนถึง 12-15 ปี) ก็ได้ พบในผู้ชายมากว่าผู้หญิงเป็น 2 เท่า
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวร้สซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่พบได้บ่อยสุดได้แก่ ไวรัสพาราอินฟลูเอนซา(parainfluenza) นอกจากนี้อาจเกิดจากไวรัสอะดีโน(adenovirus) อาร์เอสสวี(respiratory syncytial virus/RSV)ไวรัสหัส เป็นต้น
ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (influenza A) มักทำให้เกิดอาการที่รุนแรง และพบบ่อยในเด็กอายุ3-7 ปี
โรคนี้ติดต่อผ่านทางเดินหายใจแบบเดียวกับไข้หวัด(1)
อาการ
แรกเริ่มมีอาการแบไข้หวัด คือ มีไข้ เจ็บคอเล็กน้อย น้ำมูกไหล ไอ 1-2 วัน ต่อมาจะมีอาการเสียงแหบและไอเสียงก้อง และอาจได้ยิยเสียงฮื้ด (stridor) ตอนหายใจเข้า มัเกิดตามหลังอาการไอ เด็กบางรายอาจมีการหายใจลำบากร่วมด้วย ซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการเหล่นนี้มักเกิดฉับพลันทันที และจะเป็นมากในช่วงกลางคืน (ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้า ) บางรายเป็นมากจนทำให้สะดุ้งตื่นอาการจะทุเลาในช่วงกลางวัน
เด็กส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 3-7 วัน (บางรายอาจนานถึง 2 สัปดาห์)
สิ่งตรวจพบ
ไข้ 38-39◦ซ.มีอาการไอเสียงก้อง และอาจได้ยินเสียงฮื้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กมีอาการเคลื่อนไหวเช่นวิ่งเล่น
บางรายอาจมีการหายใจลำบากเล็กน้อย หรือมีเสียงฮื้ดขณะพักอยู่นิ่งๆ
ในรายที่มีการอักเสบบริเวณหลอดลมร่วมด้วยอาจตรวจพบเสียงวี้ด (wheezing) เสียงอึ๊ด (rhonchi) เสียงกรอบแกรบ (crepitation)
ในรายที่เป็นรุนแรง(ซึ่งพบได้ส่วนน้อย)จะมีอาการไอถี่ๆมีเสียงฮื๊ดดังชัดเจนขณะพักอยู่นิ่งๆหายใจลำบากซี่โครงและลิ้นปี่บุ๋ม ใช้เครื่องฟังตรวจปอดได้ยินเสียงหายใจเข้าเบากว่าปกติ ปากเขียว เล็บเขียว และอาจมีอาการซึมไม่รู้ตัว
การรักษา
1.ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีไข้ไอเสียงก้องมีเสียงฮื้ดเป็นบางครั้งเฉพาะเวลาร้องให้หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่เด็กยังรู้สึกราเริง กินได้ไม่อาเจียน ก็ให้รักษาตามอาการ (เช่นให้ยาลดไข้ –พาราเซตามอล) ให้เด็กดื่มน้ำมากๆหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ให้ความชื้นโดยวางอ่างน้ำไว้ข้างตัวเด็ก
ขณะมีอาการกำเริบให้เด็กสูดไอน้ำอุ่นๆ เช่น เปิดน้ำอุ่นจากก๊อกน้ำในห้องน้ำขณะปิดประตูห้องน้ำ แล้วนำเด็กเข้าไปอยู่ในนั้นนาน 10 นาที หรือใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำอุ่นให้หมาดๆแล้วนำมาจ่อใกล้ปากและจมูกเด็ก
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทุกวัน ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 3-7วัน
2.ถ้ามีอาการเสียงฮื้ดขณะที่พักอยู่นิ่งๆหายใจลำบาก ซี่โครงและลิ้นปี่บุ๋ม ปากเขียว เล็บเขียว กลืนลำบาก กินไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ กระสับกระสายหรือซึม ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
มักจะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก
อ้างอิง
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551
2 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับ
จำเป็นต้องแยกผู้ป่วยกับเด็กรายอื่นไหมคะ
แสดงความคิดเห็น