ไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu) - เด็กสาสุข ออนไลน์
Headlines News :
Home » » ไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu)

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu)

Written By เด็กสาสุข on วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 06:53

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu)



            ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัยพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีอุบัติการณ์สูงในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) บางปีอาจพบมีการระบาดใหญ่
                พบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วันโดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะผิดพลาดได้

สาเหตุ
                เกิดจาก เชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่าไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) เชื้อนี้จัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า  orthomyxovirus 
                ไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เอ บี และซี
                ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ มักก่อให้เกิดอาการรุนแรงอาจพบระบาดได้กว้างขวาง และสามารถกลายพันธุ์แตกแขนงเป็นสายพันธุ์ย่อยๆได้
                ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดบี ก่อความรุนแรงและการระบาดของโรคได้น้อยกว่าเอสามารถขยายพันธุ์ได้แต่ไม่มากเท่าชนิดเอ
                ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดซี มักก่อให้เกิดอาการเพียงเล้กน้อยและไม่ค่อยพบระบาด

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ
                สามรถพบได้ทั้งคนและสัตว์ (ส่วนอี 2 ชนิดพบเฉพาะในคนเท่านั้น) แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยๆ โดยมีชื่อเรียกตามชนิดของโปรตีนที่พบบนผิวของเชื้อไวรัส โปรตีนดังกล่าวมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ ฮีแม็กตินิน(hemagglutinin เรียกย่อยว่า H ) ซึ่งมีอยู่ 16ชนิดย่อย และนิวรามินิเดส (neuraminidase เรียกย่อยว่า N ) ซึ่งมีอยู่ 9 ชนิด ย่อย ในการกำหนดชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ จึงใช้ตัวอักษร H ควบกับ N โดยมีตัวเลขกำกับท้ายอักษรแต่ละตัว ตามชนิดของโปรตีน
                •ไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 เป็นต้นเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2461-1246 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนราว 20-40 ล้านคน เนื่องจากมีต้นตอจากเสปนจึงมีชื่อเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) และกลับมาระบาดใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.  2520 เนื่องจากมีต้นตอจากรัสเซียจึงเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย
                •ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H2N2 เป็นต้นเหตุการระบาดไข้หวัดใหญ่เอเชีย ในปี พ.ศ. 2500-2501 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนราว 1 ล้านคน
                •ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 เป็นต้นเหตุการระบาดไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2511-2512 ซึ่งคร่าชีวิดผู้คนราว 7แสนคน
                •ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H5N1 เป็นต้นเหตุการณ์ของไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีก หรือ
ไข้หวัดนก (240)

วิธีการแพร่เชื่อ
                เชื้อไขหวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ แบบเดียวกับไข้หวัด
                นอกจากนี้ เชื้อไข้หวัดใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายทางอากาศ  (airborne transmission ) กล่าวคือ เชื้อจะติดอยู่ในละอองฝอยๆ เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อสามารถกระจายออกไประยะไกลและแขวนลอยในอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อคนอื่นสูดเอาอากาศที่ทีฝอยละอองนี้เข้าไปโดยไม่จำเป็นต้อไอหรือจามรดใส่กันตรงๆ ก็สามารถติดโรคได้ ดังนั้น โรคนี้จึงสามทรถระบาดได้เร็ว

อาการ
            มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข่สูงหนาวๆร้อนๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก (โดยเฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นแขนต้นขา) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาหารเจ็บในคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง จุกแน่นท้อง
                แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก
                อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-7 วัน (ที่พบบ่อยคือ 3-5วัน)
                อาการไออ่อนเพลีย อาจเป้นอยู่ 1-4 สัปดาห์แม้ว่าอาการอื่นๆจะทุเลาแล้วก็ตาม
                บางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการบ้านหมุน เนื่องจากอาการอักเสบของอวัยวะของการทรงตัวในหูชั้นใน (164)
                ในการที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน เช่น มีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว ปวดหู หูอื้อ หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

ระยะติดต่อ
               ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
               - ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
               - ห้าวันหลังจากมีอาการ
               - ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

สิ่งตรวจพบ
            ไข้ 38.5-40◦ซ. หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย (ทั้งๆที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอ)
                ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่นๆ ยกเว้นในรายที่มีสภาวะแทรกซ้อน ก็อาจตรวจพบอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ในผู้ที่เป็นปอดอักเสบ เสียงอึ๊ด (rhonchi) ในผู่ที่เป็นหลอดลมอักแสบ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน
                ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
                ส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อยได้แก่ไซนัสอักเสบ (26) หูชั้นกลางอักเสบ(163) หูชั้นในอักเสบ(164) หลอดลมอักเสบ(15) หลอดลมพอง(17)
                ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ (19) ซึ่งมักจะเกิดจากแบททีเรียพวกนิวโมค็อกคัส หรือสแตฟีโคค็อกคัส (เชื้อชนิดหลังนี้มักจะทำให้เป็นปอดอักเสบร้ายแรงถึงตายได้) บางรายก็อาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่
                ภาวะอทรกซ้อนดังกล่าวมักเกิดในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ผู่ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคหืด โรคเรื้อรังทางปอดหรือหัวใจ หรือไตวายเรื้อรัง
                นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis) หลอดเลือดดำอักเสบร่วมกับถาวะลิ่มเลือดอุดตัน (thrombophlebitis) เป็นต้น

การรักษา
1.ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักมากๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้ามต้ม โจ๊ก) ดื่มน้ำและน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มากๆ
                ให้ยาพาราเซตามอล (ย1.2) ลดไข้แก่ปวด ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้แอสไพริน(ย1.1) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม(65.1)
                2.ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีอาการแทกรซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว ไซนัสอักเสบ(26) หูชั้นกลางอักเสบ(163) หลอดสมอักเสบ (15) เป็นต้น
                ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ เช่น เพนิซิลลินวี (ย4.1)อะม็อกซีซิลลิน (ย4.2) โคไตรม็กซาโซล(ย4.7) อีรีโทรไมซิน(ย4.4) หรือร็อกซิโทรไมซิน(ย4.4.1)
                3.ถ้ามีไข้เกิน 7 วัน หรือมีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ(19) โดยเฉพาะถ้าพบในผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน อาจต้องเอ็กซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เป็นต้น ถ้าพบว่าเป็นปอดอักเสบ ก็ให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
                4.ถ้ามีอาการรุนแรง หรือพบในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เด้กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เช่น อะแมนทาดีน (amantadine)  ไรแมนทาดีน (rimantadind) ไรบาไวริน(ribavirin) โอเซลทามิเวียร์(oseltamivir) ซานิมิเวียร์(zanimivir) เป็นต้น
                5.ถ้าสงสัยเป็นไข้หวัดนก (240) เช่น มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วันหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วันควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
                6.ในการวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ มักพิจารณาจากอาการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ในรายที่สงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดร้ายแรง ไข้หวัดนก หรือสงสัยมีการระบาดแพทย์จำต้องทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด (อาจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ) การทดสอบทางน้ำเหลือง (serologictests) เพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ การตรวจหาเชื้อไวรัส จากจมูกและคอหอย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน

ข้อแนะนำ
                 1.สำหรับบุคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนมากให้การรักษาตามอาการ ไข้มักหายได้เองภายใน 1-3 วันหรือไม่เกิน 7 วัน ขอสำคัญต้องนอนพัก ดื่มน้ำมากๆและห้ามอาบน้ำเย็น ถ้าไข้ลดแล้วควรอาบน้ำอุ่นอีก 2-3 วัน
                ผู้ป่วยบางรายหลังจากหานจากตัวร้อนแล้ว อาจมีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว  อยู่เรื่อยๆอาจนาน 7-8 สัปดาห์ เนื่องจากเยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลายชั่วคราวทำให้ไวต่อการระคายเคือง(เช่น ฝุ่น ควัน) ให้ดื่มน้ำอุ่นมากๆ จะค่อยๆทุลาไปเอง
                สำหรับผู้ที่เป้นกลุ่มเสี่ยง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่สำคัญ ได้แก่  ปอดอักเสบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
                2.อาการไข้สูงและปวดเมื่อย โดยไม่มีอาการอื่นๆชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆในระยะแรกเริ่มก็ได้ เช่นไทฟอยด์(37) สครับไทฟัส(226) ตับอักเสบจากไวรัส(38) ไข้เลือดออก(225) หัด(3) มาเลเรีย(224) เล็ปโตรปิโรซิส(227) เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่นๆปรากฏให้เห็นก็ควรให้การรักษาตามโรคที่สงสัย
                ถ้าหากมีไข้นานเกิน 7 วัน มักไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่แต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น  เช่นไทฟอยด์(37) สครับไทฟัส (226) มาลาเรีย (224) วัณโรคปอด(14) เป็นต้น ผู้ป่วยทีเป็นไข้หวัดใหญ่ มักมีไข้ไม่เกิน 7 วัน
                3.ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงเละปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะแยกกันไม่ออก แต้ก็ให้การดูแลรักษาเหมือนๆกัน

การป้องกัน
                1.ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด
                2.สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าพบหรือสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จากเชื้อไวรัสชนิดเอ แพทย์จะให้ยาต้านวัยรัสแก่ผุ้สัมผัสกินป้องกัน โดยให้อะแมนทาดีน(amantadine) 100 มก. วันละ 2 ครั้ง (ผู้สูงอายุให้ครั้งละ 50 มก. ) หรือไรเมนทาดีน (rimantadine) 100 มก. วันละ2 ครั้ง ควรเริ่มให้ทันทีที่สัมผัสและให้นาน 10 วัน
                3.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่มีใช้ในปัจจุปันสามารถใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (สายพันธุ์ H1N2 และ H3N2 ) และชนิดบี มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของเชื้อเหล่านี้
                โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาดก็ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่คนทั่วไป ยกเว้นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง (เช่น ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี  ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหืดหรือเรื้อรังทางปอด หรือหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น) บุคลาการทางการแพทย์ ผู้ที่จะเดินทางไปถิ่นที่มีการระบาดของโรค ผู้ที่มีกิจกรรมจำเป็นที่ไม่อาจหยุดงานได้(เช่น ตำรวจ นักแสดง นักกีฬา นักเดินทาง) ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีที่ต้องกินแอสไฟรินเป็นประจำ หญิงตั้งครรภ์ที่ย่างเข้าไตรมาสที่2 ขึ้นไปในช่วงที่มีการระบาดของโรค  กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
                การฉีดวัคซีนแต่ละครั้ง สามารถป้องกันได้นาน 1 ปี ถ้าจำเป้นควรฉีดปีละครั้งในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน
                อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ วัคซีนที่ใช้อยุ่เดิมก็จะใช้ป้องกันไม่ได้ผล

ทำไมจึงต้องแยกไข้หวัดใหญ่ออกจากไข้หวัดธรรมดา
          Common cold หรือไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคล้ายๆไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ข้อแตกต่างก็คือไข้หวัดธรรมดามักมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ เป็นอาการเด่น และไม่ค่อยมีอาการไข้ และปวดกล้ามเนื้อ ความสำคัญที่จะต้องแยกไข้หวัดใหญ่ออกจากไข้หวัดธรรมดานั้นเนื่องจากไข้หวัดใหญ่จะมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่า และโดยทั่วไปอาการจะรุนแรงและยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดธรรมดานั้นโดยทั่วไปมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้น้อยมาก แต่ไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอาจเกิดภาวะแทกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตได้เช่นปอดบวม ดังนั้นหากสามารถแยกไข้หวัดใหญ่ออกจากไข้หวัดธรรมดาได้ก็จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้ดีขึ้น

อาการของโรคหวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ 
           

อาการ

ไข้หวัดธรรมดา

ไข้หวัดใหญ่

ไข้

พบได้บ่อยในเด็กผู้ใหญ่อาจมีไข้ต่ำๆ

ไข้สูงทั้งเด็กและผู้ใหญ่

อาการปวดกล้ามเนื้อ

ไม่ใคร่จะพบ ถ้ามีก็อ่อนๆ

พบบ่อยและปวดมาก

อาการอ่อนเพลีย

มีน้อยเป็นอยู่ระยะสั้นๆ

เป็นมากและอาจนานเป็นสัปดาห์

คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน

ไม่ใคร่พบ

พบได้โดยเฉพาะพบบ่อยในเด็ก

คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ

พบบ่อยในระยะเริ่มแรก

พบได้บ่อยแต่ในระยะหลังๆ

ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร
ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
  • ไข้สูงและเป็นมานาน
  • ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา
  • หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
  • มีอาการมากกว่า 7 วัน
  • ผิวสีม่วง
  • เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
  • เด็กซึม หรือไม่เล่น
  • เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
  • ไข้สูงและเป็นมานาน
  • หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • หน้ามืดเป็นลม
  • สับสน
  • อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได
กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
  • คนท้อง
  • คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • เด็กเล็กหรือทารก
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
  • เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย
หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล
  • มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
  • เสมหะมีเลือดปน
  • หายใจลำบาก หายใจหอบ
  • ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
  • ไข้สูงมากเพ้อ
  • มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว

การฉีดวัคซีน
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
  • นักเรียนที่อยู่รวมกัน
  • ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
  • Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ครอบคลุมชนิด B
  • Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B
  • การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค
                 
อ้างอิง


 สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
                            รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551


Share this article :

1 ความคิดเห็น:

เด็กสาสุข กล่าวว่า...

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน
ขอแค่คำขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. เด็กสาสุข ออนไลน์ - All Rights Reserved
Template Modify by Creating Website
Proudly powered by Blogger