ชื่ออื่น ๆ : กำยาน กำยานไทย (ภาคกลาง) , กำยาน (ภาคเหนือ), เซ่พอบอ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) เข้ว (ละว้า-เชียงใหม่) เกลือตานตุ่น (ศรีสะเกษ) ชาติสมิง (นครพนม) กำมะแย กำยานสุมาตร (นราธิวาส,มาเลเซีย) เบนซอย (นอกประเทศ)
ชื่อสามัญ : Siam Benzoin Sumatar Benzoinชื่อวิทยาศาสตร์ : Styrax tonkinensis Craib Styrax paralleloneurus Perkins Styrax benzoin Dry.
วงศ์ : STYRACACEAE
ชื่อสามัญ : Siam Benzoin Sumatar Benzoinชื่อวิทยาศาสตร์ : Styrax tonkinensis Craib Styrax paralleloneurus Perkins Styrax benzoin Dry.
วงศ์ : STYRACACEAE
ลักษณะทั่วไป
- ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกของลำต้นเป็นสีเทา หรือสีหม่น ๆ มีขนเล็กน้อ
- ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาวเรียว ปลายแหลม ขอบของมันเป็นหยักเล็กน้อย ใบมีขน ความยาวของใบประมาณ 7.5-12.5 ซม.
- ดอก : ดอกเป็นสีชมพู-แดง หรือสีขาว (ด้านในของดอกจะเป็นสีชมพู-แดง ด้านนอกเป็นสีขาว) ดอกออกเป็นกระจุก หรือออกเป็นช่อ ดอกของมันมีขน
- ผล : ผลกลมเล็กน้อย เป็นประเภท drupe ผิวสีน้ำตาลและแข็ง
ส่วนที่ใช้ : ยางที่ได้จากลำต้น หรือเปลือก
สรรพคุณ :
- ยาง ของมันมีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาบำรุงเส้น แก้ลม แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ สมานแผล ดับกลิ่นเน่าเหม็นทุกประเภท เมื่อนำมาผสมกับขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคเชื้อรา น้ำกัดเท้า ทาแผล ใช้เผาไฟเอาควันอบห้องซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุงริ้น นอกจากใช้ยาทางแล้ว ยังสามารกถใช้ทำธูป ทำกระแจะ หรือเครื่องหอมอีกด้วย
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้ชนิดนี้ มีอยู่ทั่วไปในแถบร้อน เช่นแหลมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย
หมายเหตุ : ยางของกำยาน ที่นำมาใช้ทางยานั้นให้เลือกเอาต้นที่มีอายุ 3-6 ปี เพราะในช่วงนี้ยางที่ออกเป็นมาจะมีกลิ่นหอม และสีของมันขาวบริสุทธิ์ ซึ่งจัดว่าเป็นยางชั้นหนึ่ง เรียกว่า head benzoin ส่วนลำต้นที่มีอายุ 7-9 ปี นั้นยางที่ออกเป็นสีน้ำตาล เรียกว่า belly benzoin และสำหรับลำต้นที่มีอายุมากกว่า 9 ปี ขึ้นไป ยางของมันจะเป็นสีน้ำตาลดำ เรียกว่า foot benzoin ยางในช่วงนี้เป็นยาวที่สกปรก วิธีทำ โดยการใช้มีด หรือของมีคม สับฟันลำต้นหรืออเปลือกของมัน ให้ยางออก แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 60 วัน เพื่อให้มันแห้งแข็งเสียก่อน แล้วแกะออกจากลำต้น ซึ่งเรียกว่า Tear “กำยาน (พายัพ) ชาดสมิง (นครพนม) สะดาน (เขมร-สุรินทร์) เข้ว (ละว้า-เชียงใหม่) เซ่พ่อบอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ” in Saim. Plant. Names 1948,p. ,457 “Benzoin”, Styrax benzoindes Guillaumin, styrax benzoindes Vanpruk,1923,p.22 “กำยาน”
อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น