พาราเซตามอล (Paracetamol) - เด็กสาสุข ออนไลน์
Headlines News :
Home » » พาราเซตามอล (Paracetamol)

พาราเซตามอล (Paracetamol)

Written By เด็กสาสุข on วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 | 06:11

ยานี้เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ไม่สามารถลดอาการอักเสบจากข้ออักเสบได้ 
พาราเซตามอล (อังกฤษParacetamol (INN/ˌpærəˈsiːtəmɒl, ˌpærəˈsɛtəmɒl/) หรือ อะเซตามีโนเฟน (อังกฤษacetaminophen (USAN/əˌsiːtəˈmɪnɵfɨn/) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์บรรเทาอาการยาแก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้กายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน [1]
โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์[2]) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำใหแกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[3][4][5][6]
ในสมัยโบราณจะใช้เปลือกต้นหลิว (willow) เป็นยาแก้ไข้ (antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิว คือ ซาลิซิน (salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพรินได้ และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือก ซิงโคน่า (cinchona) ใช้เป็นยารักษามาลาเรียได้ คือ ควินนิน (quinine) และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย
ในช่วงทศวรรษ 1880เกิดการขาดแคลนต้น ซิงโคน่า จึงได้มีการหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ ดังนี้
ในขณะที่ ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลได้ในปี ค.ศ. 1873 โดยปฏิกิริยารีดักชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในกรดน้ำส้ม (acetic acid) พาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1893ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอล ในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปีค.ศ. 1899 พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์
ในปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรค เมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์ เกิดจากพาราเซตามอลซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์ และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์ มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย


กลุ่มยา

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาต่อไปนี้

ชื่อทางการค้า

ยานี้มีชื่อทางการค้าต่อไปนี้
Aceta syrup (อาเซตตา ไซรับ), Aceta (อาเซตตา), Algogen syrup (แอลโกเจน (ชนิดน้ำเชื่อม)), Algogen (แอลโกเจน), A-Mol caplets (เอ-มอล ชนิดเม็ด), A-Mol suspension (เอ - มอล ชนิดน้ำแขวนตะกอน), A-Mol syrup (เอ - มอล ไซรัป), Asumol (อาซูมอล), Bakamol (บาคามอล), Calpol 6-12 suspCalpol tabCemol drops syrup (ซีมอล ดรอปไซรัพ), Cemol suspension 6-12 (ซีมอล ซัสเพนชั่น 6-12), Cemol suspension (ซีมอล ซัสเพนชั่น), Cemol (ซีมอล), Cetamol syrup (เซตามอล ไซรัพ),Cetamol (เซตามอล), Cetapol (ซีตาปอล), Cetta Forte (เซตต้า ฟอร์ท), Cetta Syrup (เซตต้า ไซรัป), Children's Tylenol (ไทลินอล สำหรับเด็ก), Codamol tablets (โคดามอล), Cotemp caplet (โคเทม แคปเลท), Cotemp drops (โคเทม ชนิดหยด), Daga(ดาก้า), Denamol 120 (ดีนามอล 120), Denamol 250 (ดีนามอล 250), Depyret syrup drops (ดีไพเร็ท ไซรับ ชนิดหยด),Diamol (ไดอะมอล), Faron Kid (ฟารอน คิด), Faron (ฟารอน), Foramol syrup (ฟอรามอล ไซรัป), Foramol (ฟอรามอล), Kit-F(คิท - เอฟ), Kit-Syrup (คิท ไซรับ), Lotemp Susupension Forte (โลเทมป์ ซัสเพนชั่น ฟอร์ท), M-Aceta tabMymol 325 (มายมอล 325), Mymol B.P.O. (มายมอล บี.พี.โอ.), Mypara (syrup) (มายพารา (ไซรัพ)), Mypara (มายพารา), Nasa Para syr,Nasa tabNewtol (นิวตอล), New-um syrup (นิวอั้มไซรัป), Pamol drops (พามอล ชนิดหยด), Pamol Pediatric tabPanadol,Para - 325 tablet (พารา - 325 ชนิดเม็ด), Para FRX (พารา เอฟอาร์เอ็กซ์), Para Gdek (พารา จีเด็ก), Para GPO (พารา จีพีโอ),Para - Sweet (พารา - สวีท), Para tabParacap capletParacap suspensionParacet capletParacet 500 FRX(PARACET 500 FRX), Paracetamol Acdhon tabParacetamol Asian Union tabParacetamol Chew Brothers tab,Paracetamol Community Pharm tabParacetamol General Drugs House tabParacetamol GPO tabParacetamol Greater Pharma tabParacetamol K.B.Paracetamol OsothParacetamol PatarParacetamol Pharma Square tab,Paracetamol Picco tabParacetamol SSPParacetamol Suphong Bhaesaj syrParacetamol T Man tabParacetamol T.O. syrParacetamol Utopian syrPara-G suspension (พารา-จี ซัสเพนชั่น), Para-G (พารา-จี), ParaginParaman tabletsParamed syrup (พาราเม็ด ไซรัป), Paramed (พาราเม็ด), Paramol syrup (พารามอล ไซรัป), Parano syrup (พาราโน่ ไซรัป), Parano (พาราโน่), ParanolParat drops (antipyretic & analgesic) (พาแรท ชนิดหยด (ลดไข้,บรรเทาอาการปวด)),Parat syrup (พาแรท ไซรัป), Parat (พาแรท), ParcetPardon C.D. Syrup (พาร์ดอน ซี.ดี. น้ำเชื่อม), Pardon (พาร์ดอน),PartamolPat tabPatum syrup (พาตุ้ม ไซรัป), Pemol drop suspension (พีมอล ชนิดหยด), Pemol syrup (พีมอล ไซรัป),Pemol (พีมอล), Poro SuppositoryPoro SuspensionPyracon dropsPyracon tablets (ไพราคอน), Pyracon liquid (ยาน้ำไพราคอน), Pyrimed film-coated tabRamol tabSaebegin (แซบียิ่น), Sara infant drops (ซาร่า ชนิดหยดสำหรับทารก), Sara suspension (ซาร่า), Sara syr (ซาร่า), Sara (ซาร่า), T.M. Gin tabletsTempra drops (เทมปร้า (ชนิดหยด)), Tempra Forte(เทมปร้า ฟอร์ท), Tempra Kids (เทมปร้า คิดส์), Thoho syrupThohoTotamol 250 (โททามอล 250), Tumdi (ทัมดี้), Tylenol 500 (ไทลินอล 500), Tylenol 8 Hour capletTylenol dropsUnimol suspension (ยูนิมอล ซัสเปนชัน), Unimol syrup (ยูนิมอล ไซรัป), Uracet syrup (ยูราเซท ไซรัป), Vemol syrup (วีมอลไซรัป), Vemol (วีมอล), Vikool syrup (ยาลดไข้เด็กไวคุล),Xebramol drops (ซีบรามอล ดร็อปส์), Xebramol syrup (ซีบรามอล ไซรับ), Xebramol (ซีบรามอล)
ข้อมูลนี้ไม่สมบูรณ์ ยานี้อาจจะยังมีชื่อทางการค้าอื่นที่ไม่ได้แสดงในนี้ หรือชื่อทางการค้าที่แสดงในนี้อาจจะไม่อนุญาตให้จำหน่ายแล้ว

ชื่อภาษาไทยอื่นที่อาจมีการใช้

ยานี้มีชื่อภาษาไทยอื่นที่มีการใช้ดังต่อไปนี้

การใช้ที่ถูกต้อง

ควรใช้ขนาดยาตามใบสั่งยาของแพทย์หรือตามที่ระบุบนฉลากยา
  • ห้ามใช้ยานี้มากกว่าวันละ 4 กรัม การใช้ยานี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดพิษต่อตับและไต
  • ไม่ควรใช้ยานี้นานเกิน 5 วัน
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้พาราเซทามอลสำหรับเหน็บทวารหนัก (paracetamol suppositories)
  • ถ้ายาเหน็บนิ่มเกินที่จะสอดได้ ควรนำไปแช่ตู้เย็น 30 นาทีหรือแช่ในน้ำเย็นก่อนเอาออกจากกระดาษฟอยด์ที่ห่ออยู่ การสอดยาเหน็บ ในขั้นแรกเอากระดาษฟอยด์ที่ห่อออกก่อนแล้วทำให้ยาเหน็บชุ่มชื้นด้วยการจุ่มลงในน้ำเย็น นอนตะแคงข้างและใช้นิ้วดันยาเหน็บเข้าสู่ช่องทวารหนัก

ขนาดยา

ขนาดยาพาราเซทามอล (paracetamol) อาจจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร หรือ ตามที่ระบุไว้บนฉลากยา
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงขนาดยาเฉลี่ย หากขนาดยาของท่านแตกต่างไปจากนี้ ไม่ควรเปลี่ยนขนาดยาเองถ้าแพทย์ไม่ได้ระบุ
จำนวนแคปซูล, เม็ดหรือช้อนโต๊ะของยาน้ำใสหรือยาน้ำแขวนตะกอนที่ท่านรับประทาน ปริมาณแกรนูลหรือผงยาที่ท่านรับประทานหรือจำนวนยาเหน็บที่ท่านใช้ ขึ้นอยู่กับความแรงของยา ดังนั้นขนาดยาที่ท่านใช้ในแต่ละวันและแต่ละเวลาจะขึ้นอยู่กับความแรงของยา
สำหรับยาในรูปแบบยารับประทาน (ยาน้ำใส ยาน้ำแขวนตะกอนหรือยาเม็ด) และยาในรูปแบบเหน็บทวารหนัก (suppositories) สำหรับบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้
ก. วัยรุ่นและผู้ใหญ่
  • ขนาดยา 325 หรือ 500 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยา 650 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยา 1000 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยาไม่เกิน 4000 มิลลิกรัมต่อวัน เช่น ขนาด 500 มิลลิกรัม ควรรับประทานไม่เกิน 8 เม็ด
ข. การใช้พาราเซทามอล (paracetamol) ในเด็กขึ้นกับอายุของเด็ก
  • ทารกแรกเกิด – 3 เดือน : ขนาดยา 40 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ทารก 4 เดือน – 12 เดือน: ขนาดยา 80 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 1 – 2 ปี : ขนาดยา 120 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 2 – 4 ปี : ขนาดยา 160 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 4 – 6 ปี : ขนาดยา 240 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 6 – 9 ปี : ขนาดยา 320 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 9 – 11 ปี : ขนาดยา 320–400 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 11 – 12 ปี : ขนาดยา 320–480 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
โดยทั่วไปรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด หรือใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยใดให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • รับประทานยานี้ได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร แต่ควรรับประทานเหมือนกันทุกครั้งและควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
  • สำหรับทารกและเด็กเล็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้มากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้มากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเกิน 5-10 วัน เว้นแต่แพทย์สั่ง
  • สำหรับเด็ก ห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน เว้นแต่แพทย์สั่ง
ห้ามรับประทานยานี้มากกว่าหรือน้อยกว่า หรือบ่อยกว่าที่แพทย์สั่งให้ใช้ การรับประทานยานี้มากกว่าหรือบ่อยกว่าตามที่ระบุในใบสั่งยาของแพทย์หรือบนฉลากยาอาจเป็นอันตรายต่อตับได้

เมื่อลืมใช้ยา

หากท่านลืมรับประทานยาให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้ถึงมื้อต่อไปให้ข้ามมื้อที่ลืมและรับประทานยาต่อในมื้อถัดไปในขนาดยาปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

การเก็บรักษา

  • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ไกลจากความร้อนหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บพาราเซทามอล (paracetamol) ไว้ในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างมือหรือที่ชื้น เนื่องจากยาอาจเสื่อมคุณภาพได้
  • ควรเก็บยาในรูปแบบยาเหน็บในตู้เย็น
  • ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ข้อควรระวัง

บอกแพทย์หรือทันตแพทย์ให้ทราบหาก
  • ท่านใช้ยานี้เพื่อบรรเทาอาการปวด รวมทั้งการปวดข้อและการปวดที่มากกว่า 10 วันในผู้ใหญ่หรือมากกว่า 5 วันในเด็กหรืออาการปวดยิ่งแย่ลง มีอาการใหม่เกิดขึ้นหรือมีการบวมแดงบริเวณที่ปวด สิ่งเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงซึ่งควรได้รับการรักษา
  • หากท่านใช้ยานี้เพื่อลดไข้ และไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วันหรือมีไข้ขึ้นมาใหม่ อาการไข้ยิ่งแย่ลง หรือมีการบวมแดงเกิดขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นอาการบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงซึ่งควรได้รับการรักษา
  • หากท่านรับประทานยานี้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและอาการเจ็บคอยิ่งเจ็บมากขึ้น หรือไม่หายภายใน 2 วันหรือมีอาการอย่างอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • มีประวัติการแพ้ยาพาราเซทามอล (paracetamol) หรือยาอื่น ๆ
  • ยาอื่น ๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ซื้อรับประทานเอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
  • การตั้งครรภ์ การวางแผนจะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
  • ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ หรือบ่อย ๆ และ/หรือประวัติการเป็นโรคพิษสุรา (alcoholism)
  • การมีหรือเคยมีความผิดปกติของการทำงานของตับ เป็นหรือมีประวัติเคยเป็นโรคตับ
  • โรค, ภาวะหรือปัญหาความเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่มี
  • อายุหรือวัยของผู้ใช้ เช่น เด็ก, ผู้สูงอายุ ในกรณีที่เป็นทารกหรือเด็กเล็กควรบอกน้ำหนักตัวของเด็กแก่แพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบด้วย
  • อ่านฉลากยาให้ละเอียดทั้งยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อรับประทานเอง หากยาที่รับประทานอยู่มีพาราเซทามอล (paracetamol) เป็นส่วนประกอบ ควรบอกแพทย์ทันทีเนื่องจากหากได้ยาร่วมกันอาจจะได้พาราเซทามอล (paracetamol) ในปริมาณที่มากเกินไป
  • หากท่านจะรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) มากกว่า 1–2 เม็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสที่ตับจะถูกทำลายได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำหรือหากท่านรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) มากกว่าที่แนะนำในฉลากหรือหากท่านรับประทานยานี้เป็นเวลานาน
  • พาราเซทามอล (paracetamol) อาจรบกวนผลของการทดสอบทางการแพทย์บางอย่าง ก่อนที่จะทำการทดสอบใด ๆ หากรับประทานยาพาราเซทามอล (paracetamol) ใน 3-4 วันที่ผ่านมา ควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบว่าใช้ยาพาราเซทามอล (paracetamol) นี้อยู่ด้วย เป็นไปได้ควรโทรบอกห้องปฏิบัติการก่อนที่จะทำการทดสอบประมาณ 4 วัน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
พาราเซทามอล (paracetamol) อาจให้ผลการทดสอบที่ผิดพลาดในการทดสอบหาน้ำตาลในเลือด หากท่านสงสัยในผลการทดสอบหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหานี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
หากท่านคิดว่าท่านหรือบุคคลอื่น ๆ อาจจะได้รับยาพาราเซทามอล (paracetamol) เกินขนาด ควรที่จะได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนแม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกถึงการเกิดพิษ อาการแสดงของการเกิดพิษที่รุนแรงอาจจะปรากฎประมาณ 2-4 วันหลังจากที่ได้รับขนาดยาเกิน แต่การรักษาเพื่อป้องกันการทำลายตับหรือป้องกันการตายควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การรักษาที่เริ่มการรักษาหลังจาก 24 ชั่วโมงที่ได้รับยาเกินขนาดมักไม่ได้ผล

อาการไม่พึงประสงค์

ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับผู้ใช้ยาทุกราย แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น
พบน้อยมาก
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
อาการเมื่อได้รับยาเกินขนาด
  • ท้องร่วง เหงื่อออกมากขึ้น ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดเกร็งกระเพาะอาหาร บวม ปวดหรือรู้สึกตึงที่ท้องส่วนบนหรือบริเวณกระเพาะอาหาร
ข. ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น
พบน้อยมาก
  • อุจจาระสีเข้มหรือมีเลือดปน
  • ปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดปน ปริมาณปัสสาวะลดลงทันทีทันใด
  • มีไข้แต่ไม่หนาวสั่น (ที่ไม่ได้เกิดก่อนการรักษาหรือที่เป็นสาเหตุของการรักษา)
  • ปวดบั้นเอวและข้างเอว (ปวดมากหรือเจ็บแปลบๆ)
  • มีจุดเลือดออกในตา
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง, มีผื่นลมพิษ, คัน, เจ็บปวดทรมาน มีแผล หรือจุดขาว ๆ ที่ริมฝีปากหรือช่องปาก, เจ็บคอ (ที่ไม่ได้เกิดก่อนการรักษาหรือที่เป็นสาเหตุของการรักษา)
  • อ่อนเพลียผิดปกติ
  • เลือดออกมากผิดปกติ
ค. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
อ้างอิง
Share this article :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. เด็กสาสุข ออนไลน์ - All Rights Reserved
Template Modify by Creating Website
Proudly powered by Blogger